วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติความเป็นมากรีฑา
กรีฑานับเป็นกีฬาเก่าที่เกิดมาพร้อมกับมนุษย์ เพราะแต่ก่อนมนุษย์ไม่รู้จักทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง ไม่รู้จักสร้างที่พัก ตลอดจนสร้าง
เครื่องนุ่งห่มเหมือนมนุษย์ปัจจุบัน มนุษย์สมัยนั้นต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติ และความดุร้ายของสัตว์ป่านานาชนิดและมีที่อยู่อาศัยแห่งเดียวกัน คือ
ถ้ำ ซึ่งเรียกว่า   "มนุษย์ชาวถ้ำ"  (Cave man)   และที่แห่งนี้เองที่เป็นต้นกำเนิดของการกีฬา โดยที่มนุษย์เหล่านี้ต้องป้องกันตัวเองจากสัตว์ร้าย
บางครั้งต้องวิ่งเร็วเพื่อให้พ้นจากสัตว์ร้ายการวิ่งเร็ว  หากเทียบกับปัจจุบันก็คือการวิ่งระยะสั้น  หากการวิ่งหนีต้องใช้เวลาในการวิ่งนาน ๆ  ก็คือ


การวิ่งระยะยาวหรือวิ่งทน
การวิ่งในที่นี้อาจรวมไปถึงการวิ่งเพื่อไล่จับสัตว์มาเป็นอาหารหรือการต่อสู้ระหว่างเผ่า  ในบางครั้งขณะที่วิ่งมีต้นไม้หรือก้อนหิน
ขวางหน้า ถ้าเป็นที่ต่ำก็สามารถกระโดดข้ามได้ ปัจจุบันคือ  การกระโดดข้ามรั้ว  และกระโดดสูง  ถ้าต้องการกระโดดข้ามได้อย่างธรรมดาจำเป็น
ต้องหาไม้ยาวๆ มาปักกลางลำธารหรือแง่หิน  และโหนตัวข้ามไปยังอีฝั่งหนึ่ง  กลายเป็นการกระโดดค้ำ  การใช้หอกหรือแหลนหลาวที่ทำด้วยไม้
ยาวๆ เป็นอาวุธพุ่งฆ่าสัตว์ ปัจจุบันก็กลายมาเป็นพุ่งแหลน หรือการเอาก้อนหินใหญ่ๆ มาทุ่มใส่สัตว์ ขว้างสัตว์ กลายมาเป็นการขว้างจักรในปัจจุบัน
จึงเห็นได้ว่าการ วิ่ง กระโดด ทุ่ม พุ่ง ขว้าง เหวี่ยง ที่พ่อแม่ หรือหัวหน้าเผ่าสั่งสอนถ่ายทอดให้ในสมัยนั้นมีไว้เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันใน
ปัจจุบันก็มีเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้ทำหน้าที่นี้คือ ครูอาจารย์และโค้ชนั่นเอง
สมัยกรีก ชาวกรีกโบราณเป็นผู้ริเริ่มการเล่นกีฬาขึ้นหลายอย่าง เมื่อราว 1,000 ปี ก่อนคริสต์กาล กรีก คือชนเผ่าหนุ่มซึ่งอพยพมาจาก
ทางเหนือเข้ามาอยู่ในคาบสมุทรบอลข่าน และตั้งรกรากปะปนกับชาวพื้นเมืองเดิม แล้วสืบเชื้อสายผสมกันมาเป็นชาวกรีก ต่อมากรีกได้เจริญรุ่งเรือง
จนถึงขีดสุดในด้านต่างๆ ทั้งด้านปรัชญา วรรณคดี ดนตรี และการพลศึกษา โดยเฉพาะด้านการพลศึกษา นับว่ามีบทบาทสำคัญในชีวิตความเป็น
อยู่ของชาวกรีก อย่างยิ่ง
เนื่องจากประเทศกรีกมีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เต็มไปด้วยภูเขา ความเป็นอยู่ในสมัยนั้นจึงเป็นไปอย่างหยาบๆ กรีกจะแบ่งออกเป็นรัฐ
โดยแต่ละรัฐปกครองตนเอง และเมื่อแต่ละรัฐคิดที่จะแย่งกันเป็นใหญ่ จึงมีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ  รัฐที่สำคัญและเข้มแข็งมีอยู่สองรัฐคือ  เอเธนส์
และสปาร์ต้า ชาวกรีกมีความเชื่อในพระเจ้าต่างๆ หลายองค์ด้วยกัน เช่น
  คำอธิบาย: http://www.wt.ac.th/~phonthong/images/zeus.jpg
1. เทพเจ้าซีอุส (Zeus) เป็นประธานหรือพระเจ้าองค์ใหญ่ที่สุดในบรรดาพระเจ้าทั้งหลาย 

คำอธิบาย: http://www.wt.ac.th/~phonthong/images/a_thena.jpg
คำอธิบาย: http://www.wt.ac.th/~phonthong/images/a_pollo.jpg
คำอธิบาย: http://www.wt.ac.th/~phonthong/images/hermes.jpg
คำอธิบาย: http://www.wt.ac.th/~phonthong/images/a_res.jpg
คำอธิบาย: http://www.wt.ac.th/~phonthong/images/ar_temis.jpg
2. พระเจ้าอะธินา (Athena) คือเทพธิดาแห่งความ
เฉลียวฉลาด
3. เทพเจ้าอะพอลโล (Apollo) คือเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง
กับความจริง
4. เทพเจ้าเฮอร์เมส (Hermes) คือเทพเจ้าแห่งการสื่อสาร
5. เทพเจ้าอาเรส (Ares) คือเทพเจ้าแห่งสงคราม
6. เทพเจ้าอาร์ทีมิส (Artemis) คือเทพธิดาแห่งการล่าสัตว์

ชาวกรีกเชื่อว่าเทพเจ้าเหล่านี้สถิตอยู่บนยอดเขาโอลิมปัส (Olimpus) คล้ายกับเป็นผู้ชี้ชะตาของชาวกรีก ชาวกรีกจึงพยายามที่
จะเอาใจ ทำความเข้าใจ และสนิทกับพระเจ้า  โดยการบวงสรวงหรือทำพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อฉลองพระเกียรติของพระเจ้าเหล่านั้น  ดังนั้นเวลา
กระทำพิธีหรือมีงานฉลองมหกรรมใด ๆ  ชาวกรีกจะจัดการแข่งขันกีฬาขึ้น ณ บริเวณยอดเขาโอลิมปัส  แต่ต่อมาคนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
จึงย้ายสถานที่ลงมาที่ราบเชิงเขาโอลิมปัส เพื่อเป็นการถวายความเคารพบูชาต่อเทพเจ้าซีอุส ประธานแห่งเทพเจ้าทั้งหลายของตนอย่ามโหฬาร
อนึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการบวงสรวงตามพิธีการทางศาสนาแล้ว ก็มีการจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ขึ้นดังได้กล่าวมาแล้วซึ่งการแข่งขันจะไม่มี
พิธีรีตรองอะไรมากนัก เป็นเพียงแข่งขันไปตามที่กำหนดให้เท่านั้นผู้ชนะของการแข่งขันก็ได้รับรางวัล ความมุ่งหมายในการแข่งขันของกรีก
สมัยนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พลเมืองมีสุขภาพสมบูรณ์ และมีร่างการที่สมส่วนสวยงาม
เมื่อกรีกเสื่อมอำนาจลงและต้องตกอยู่ภายใต้การครอบตรองของชนชาติโรมัน  การกีฬาของกรีก  เริ่มเสื่อมโทรมลงตามลำดับ-
ถึงปี พ.ศ. 937 ธีโอดอซีอุส มหาราชแห่งโรมัน ประกาศห้ามชาวกรีก ประชุมแข่งขันกีฬาอีก จึงทำให้การเล่นกีฬาของกรีกต้องล้มเลิกไปเป็น
เวลานานถึง 15 ศตวรรษ
สมัยโรมัน ต่อมาในปลายสมัยของโฮเมอร์ มีชนเผ่าหนึ่งมาตั้งรกรากอยู่บนฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ ด้านตะวันออกของกรีก ซึ่งภายหลัง
ได้กลายเป็นพวกโรมันชาตินักรบ มีความกล้าหาญอดทน และมีอิทธิพลยิ่งใหญ่ขึ้นมาพร้อมๆ กับความเสื่อมลงของประเทศกรีก ชาวโรมันนิยม
และศรัทธาพลศึกษามากเป็นชีวิตจิตใจ เขาถือว่าพลศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชีวิตประจำวัน ชาวโรมันฝึกฝนบุตรของตนมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
ให้มีความสามารถในเชิงดาบ โล่ห์ แหลน ในการสู้รบบนหลังม้า รวมทั้งการต่อสู้ประเภทอื่น ๆ สนามฝึกหัดกีฬาเหล่านี้เรียกว่า แคมปัสมาร์ติอุส
(Campusmartius) เป็นสนามกว้างใหญ่อยู่นอกตัวเมือง และมีสถานฝึกแข่งว่ายน้ำสำคัญเรียกว่า เธอร์มา (Therma) และมีสนามกีฬา
แห่งชาติขนาดใหญ่ในกรุงโรมที่จุคนได้ถึง 200,000 คน เรียกว่า โคลิเซี่ยม (Coliseum)
คำอธิบาย: http://www.wt.ac.th/~phonthong/images/0403.jpgคำอธิบาย: http://www.wt.ac.th/~phonthong/images/colosseum.jpg
ชาวโรมันชายทุกคนต้องเป็นทหารในยามสงคราม  เขาจึงฝึกพลศึกษาการต่อสู้แบบต่าง ๆ ในค่ายฝึกเสมอ  ด้วยผลแห่งการฝึก
พลศึกษา การกีฬา และเชิงรบแต่เยาว์วัยของประชาชน โรมันจึงมีกองทัพอันเข้มแข็ง และสามารถแผ่อำนาจเข้าครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์-
เรเนียน และยุโรปตะวันตกบางตอน รวมขึ้นเป็นราชอาณาจักรโรมัน (The Roman Empire) ต่อมาราชอาณาจักรโรมันก็เสื่อมลงเนื่องจาก
สาเหตุหลายประการ การเสื่อมความนิยมในพลศึกษาซึ่งเป็นมูลเหตุสำคัญข้อหนึ่งเพราะชาวโรมันกลับ เห็นว่าพลศึกษาเป็นของต่ำจึงเลิกเล่น
กีฬาหันไปใช้พวกทาสแกลดิเอเตอร์ (Gladiators) ต่อสู้กันเองบางครั้งก็ต่อสู้กับสัตว์ร้ายและเห็นว่าการศึกษาวิชาการมีประโยชน์กว่าวิชา
พลศึกษา ดังนั้นโรมันจึงกลายเป็นชาติที่อ่อนแอ จนถึงกับใช้ทหารรับจ้างในยามศึกสงครามแล้วในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่ชนชาวติวตัน (Tue Ton)
อันเป็นชาติที่นิยมกีฬากลางแจ้ง และมีร่างการแข็งแรงสมบูรณ์
สมัยปัจจุบัน พ.ศ. 2435   นักกีฬาชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง   มีฐานันดรศักดิ์เป็น  บารอน เปียร์ (บางท่านอ่านว่าปิแอร์) เดอ กูแบรแตง
(Baron Piere de Coubertin) ท่านผู้นี้มีความสนใจในการกีฬาอย่างยิ่ง ได้พิจารณาเห็นว่าการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศเป็นการเชื่อม
ความสามัคคี ผูกมัดสัมพันธภาพระหว่างชาติต่างๆ ที่ร่วมการแข่งขันด้วยกัน เป็นการสมาคมชั้นสูง เพื่อแลกเปลี่ยนจิตใจของนักกีฬาอันแท้จริง
ต่อกัน ไม่มีการผิดพ้องหมองใจกัน  ซึ่งการแข่งขันกีฬาโอลิมเปียดสมัยโบราณได้ยุติลงเมื่อ พ.ศ. 935  เป็นเหตุที่ทำให้ห่วงสัมพันธภาพในการ
กีฬาขาดสะบั้นลง และเป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง
ท่านผู้นี้จึงได้เชื้อเชิญสหายคือ   ศาสตราจารย์  W. Stone แห่งสหรัฐอเมริกา  Victor Black  แห่งสวีเดน  Dr. Jiriguch
แห่งโบเฮาเมีย  Sir Johe Astenley  แห่งบริเตนใหญ่   ร่วมกันเปิดการประชุมกีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่   โดยยึดเอาอุดมคติแห่งความยุติธรรม
อ่อนโยน สุภาพ มั่นคง  และกำลังเป็นมูลฐานตามวัตถุประสงค์ของ  โอลิมเปียดโบราณที่ว่า  Citus, Altius, Fortius  (เร็ว, สูง, แรง)  ผู้สนใจ
การกีฬาคณะนี้ได้ปรึกษาหารือกัน  จนกระทั่งวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2437   จึงได้เกิดการประชุมใหญ่  ระหว่างผู้แทนประเทศต่าง ๆ ที่เมือง
เซอร์มอนน์  ประเทศฝรั่งเศส   และได้ประกาศตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ  (International Olympic Committee)  และ
ตกลงกันให้มีการชุมนุมกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกของสมัยปัจจุบันที่กรุงเอเธนส์  ประเทศ กรีก ใน พ.ศ. 2439 บารอน เปียร์ เดอ กูแบรแตง ได้มอบ
คำขวัญให้ไว้แก่การแข่งขันโอลิมปิกสมัยปัจจุบันนี้ว่า "สาระสำคัญในการแข่งขันโอลิมปิก ไม่ใช่การชนะ แต่สำคัญอยู่ที่การเข้าร่วมแข่งขัน 4 ปี
ต่อ 1 ครั้ง โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันระหว่างประเทศในเครือสมาชิก" โดยความคิดของ บารอน เปียร์ เดอ กูแบรแตง ที่ได้รื้อฟื้นการแข่งขัน
โอลิมปิกขึ้น มิใช่เฉพาะเพื่อชัยชนะของผู้แข่งขันเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญ คือ การเข้าร่วมก่อให้เกิดสุขสันติภาพระหว่างชาติ และก้าวไปสู่สันติของโลก

ประวัติการแข่งขันกรีฑาในประเทศไทย
การแข่งขันกรีฑาภายในประเทศไทย ได้เริ่มจัดให้มีการแข่งขันเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2440 พิธิเปิดการแข่งขันกรีฑานักเรียน
ครั้งแรกในประเทศไทยนี้ คณะกรรมการ และบรรดา นักเรียนในกรุงเทพฯ ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเป็น ประธานเปิดงาน และทอดพระเนตรการแข่งขัน
กรีฑานักเรียน ณ ท้องสนามหลวง  นับตั้งแต่นั้นมากระทรวงธรรมการ  ได้พยายามจัดให ้มีการแข่งขัน  กรีฑานักเรียนเป็นประจำตลอดมา ปี พ.ศ.
2476 รัฐบาลตั้งกรมพลศึกษาขึ้น กรมพลศึกษามีนโยบายส่งเสริมการกีฬาและการกรีฑาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หลังจากตั้งกรมพลศึกษา
ขึ้นมาแล้ว กีฬาและกรีฑา ได้รับการสนับสนุนจัดให้มีการแข่งขันหลายประเภท เช่น กรีฑาระหว่างโรงเรียน กรีฑาระหว่างมหาวิทยาลัย และกรีฑา
ระหว่างประชาชน   ปี พ.ศ. 2494  ได้จัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย  ซึ่งอยู่ในความอุปการะของกรมพลศึกษา   รับช่วงงานการ
แข่งขันกรีฑาประเภทมหาวิทยาลัย   ประชาชนไปดำเนิน งานแทนในปี  พ.ศ. 2504   ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่
โดยตรง ในการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขันกีฬาเขตทุก ๆ ปี หมุนเวียนกันไป แต่ละ จังหวัด ในการแข่งขันกีฬาเขตนี้ (ปัจจุบัน-
เปลี่ยนชื่อเป็นการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ) ถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องมีการแข่งขันทุกครั้ง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น